อ่าน 7 นาที
3 ม.ค.64
“ภาษี” คือสิ่งที่คุณต้องจ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่คุณมีรายได้ตามกฎหมาย แต่หากคุณรู้จัก “แพลนภาษี” ให้ดี ก็เปลี่ยนเงินที่ “จ่าย” ออกไป ให้กลับคืนมาเป็นเงิน “ออม” และนำไปต่อยอดได้
ลองคิดดูครับ หากคุณมีเงินเดือน 50,000 บาท ได้โบนัสอีก 2 เดือนในปีนั้น แต่ไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษีไว้เลย เท่ากับว่าคุณต้องเสียเงินจ่ายภาษี 5% ทุกเดือน คิดเป็นเงิน 32,010 บาท
กลับกันถ้าคุณแบ่งเงินออม 10% ทุกเดือน ครบปีได้เงิน 60,000 บาท แล้วนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อกองทุน LTF จะลดหย่อนภาษีได้ถึง 7,550 บาท หรือลดไป 13%
พอเวลาผ่านไป 10 ปี ก็มีเงินเพิ่มอีกปีละ 10% จากผลตอบแทนของกองทุน LTF เงิน 60,000 ก็จะกลายเป็น 155,625 บาท เท่ากับว่าจากการลงเงินไปเดือนละ 10% คุณได้เงินเพิ่มกลับมารวมเงินคืนภาษีทั้งสิ้น 172%
นี่แหละครับ ผลจากการแพลนภาษีอย่างเป็นระบบ หากอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไร นีโอ มันนี่ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษี วิธีคำนวณ และขอลดหย่อนภาษี เพื่อให้คุณเตรียมพร้อมสำหรับแพลนภาษีได้มาไว้ที่นี่แล้ว
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีกันครับ ถ้าเราเป็นคนอาศัยอยู่ในประเทศไทย นานถึง 180 วัน มีรายได้แบบนี้ ก็ต้องเสียภาษี โดยมีกติกาแบบนี้ครับ
จะเห็นได้ว่า แม้แต่ความตายก็มิอาจพรากภาษีจากเราไปได้ หลักคิดสำหรับ การยื่น และการเสียภาษี มีดังนี้
วิธีการคิดคำนวณภาษี จำง่ายๆ มีแค่ 4 ตัวนี้ นำมา ลบๆ แล้ว คูณกันครับ
(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ลดหย่อน ) x อัตราภาษี
สิ่งที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือ “ค่าใช้จ่าย” และ “ลดหย่อน” ซึ่งแต่ละปีก็อาจจะมีเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมแก้ไข ให้เราติดตามกันให้ดีๆ ครับ
เพื่อให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์สูงสุด โดยเป้าหมายของเราก็คือ “ลดภาษี ลดเสี่ยง สร้างทรัพย์สิน” ให้กับคุณ ผมขอแนะนำ 5 ขั้นตอนในการวางแผนภาษี ดังนี้ครับ
พอรู้หลักทั้งหมดนี้แล้ว เรามาเริ่มดูกันเลยครับว่ารายได้ที่เรามี ต้องหักค่าใช้จ่ายยังไงบ้าง
เพื่อปูพื้นให้แน่น ผมจะอธิบายความหมายของคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ในที่นี้ก่อนนะครับ มันคือค่าใช้จ่ายที่สรรพากรอนุญาตให้เราหักออกจากรายได้เพื่อนำไปคำนวณภาษีนั่นเอง
ถามว่าหักเท่าไหร่ ทางสรรพากรเขาจะมีเกณฑ์มาให้อยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับรายได้ของคุณว่าตกอยู่ในประเภทไหน โดยจะแบ่งออกเป็น 8 ประเภท พร้อมเปอร์เซ็นต์หัก ดังนี้ครับ
พอรู้จักค่าใช้จ่าย ก็มาต่อกันที่พระเอกของเรา “รายการลดหย่อน” กันครับ เพื่อให้เข้าใจง่าย ผมขอแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้นะครับ
พอเราเข้าใจขั้นตอนการวางแผนภาษี รู้จักค่าใช้จ่าย และสิทธิลดหย่อนกันแล้ว เราก็จะมาเริ่มคำนวณเงินภาษีกันได้เลย
ดูเหมือนจะซับซ้อน แต่ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ โดยทั่วไปแล้ว วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 วิธี ด้วยกัน ดังนี้
เงินได้สุทธิ × อัตรา (ก้าวหน้า) = ภาษี
เงินได้สุทธิ คือ เงินได้หรือรายได้ประเภท 1 – 8 ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว
อัตรา (ก้าวหน้า) คือ หากคุณคิดว่า คุณมีรายได้สุทธิ 350,000 บาท แล้วต้องเสียภาษี เท่ากับ 350,000 x 10% แสดงว่าคุณ คิดผิดครับ
ที่แท้จริงคือ นำรายได้แต่ละช่วงไปคูณภาษีแต่ละขั้น (150,000 x 0%) + (150,000 x 5%) + (50,000 x 10%) = 12,500 บาท ตามตารางด้านล่าง
สำหรับเงินได้ประเภท 2 – 8 ตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป วิธีนี้จะนำมาใช้คำนวณภาษีเงินได้กรณีที่คำนวณเงินได้อื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน โดยคุณต้องนำเงินได้จากช่องทางอื่นทั้งหมดมาคำนวณ เมื่อคำนวณแล้วต้องมีค่าภาษีมากกว่า 5,000 บาท หรือมากกว่าการคำนวณแบบวิธีแรก สูตรคำนวณแบบเหมา มีดังนี้
เงินได้พึงประเมิน × อัตรา (0.5%) = ภาษี
การยื่นภาษีจะขึ้นอยู่กับว่าคุณรับรายได้แบบไหน และช่องทางไหนบ้าง สามารถเช็คได้ตามนี้ครับ
ต่อมาต้องเตรียมเอกสารสำหรับยื่นภาษี ได้แก่
ผู้ที่เลือกยื่น ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ที่นี่ ซึ่งทำได้อย่างรวดเร็ว ผมแนะนำให้ลงทะเบียนสมัครพร้อมเพย์ โดยใส่เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักผูกไว้กับบัญชีธนาคาร จะได้รับเงินเข้าบัญชีโดยตรงไปเลยครับ ไม่อย่างนั้นต้องรอเป็นเช็คส่งทางไปรษณีย์แทน
นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ได้ง่ายๆ โดยผู้ที่ต้องการขอเงินคืนภาษีต้องสมัครพร้อมเพย์ เพื่อให้ได้รับเงินคืนเร็วกว่าการคืนภาษีด้วยเช็คเช่นกันครับ
หากคุณลืมยื่นภาษี จ่ายไม่ครบ หรือจงใจหนี ก็จะพบกับค่าปรับหรือโทษที่แตกต่างกันไป มีตั้งแต่โทษปรับทางอาญา เสียเบี้ยปรับ เสียเงินเพิ่ม ไปจนถึงจำคุกก็มี ดังนั้น ห้ามเนียนเด็ดขาดครับ
ไม่ว่าคุณต้องเสียหรือไม่เสียภาษี การรู้จักแพลนภาษีไว้ ย่อมทำให้คุณจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหาช่องทางทำให้งอกเงยได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นและใกล้ตัวมาก
แม้จะมีรายละเอียดยิบย่อยและดูเหมือนจะซับซ้อน แต่หากเข้าใจหลักการแล้ว ย่อมช่วยให้คุณแพลนภาษีสำหรับวันข้างหน้าได้แน่นอนครับ
“การวางแผน คือการนำอนาคตมาสู่ปัจจุบัน เพื่อที่คุณสามารถจะทำอะไรกับมันได้ตอนนี้เลย”
#นีโอมันนี่โค้ชทางการเงินยุคดิจิตอล
อ่าน 7 นาที
3 ม.ค.64
© Copyright 2019 NEO Money Co., Ltd.